วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

โบราณวัตถุ

                                                                                  คิวปิด
 อ่านต่อ                                                                                


หอเทียนถา

หอเทียนถา

อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับหอเทียนถา คลิ๊กที่นี้


มังกรหยกแกะสลักยุค

มังกรหยกแกะสลักยุค

อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับมังกรหยกแกะสลักยุค คลิ๊กที่นี้


ปราสาทคาร์ไลล์

ปราสาทคาร์ไลล์

อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับปราสาทคาร์ไลล์ คลิ๊กที่นี้


ประติมากรรมหินอ่อน

ประติมากรรมหินอ่อน

อ่านเนื้อหาประติมากรรมหินอ่อน คลิ๊กที่นี้


โบราณวัตถุ ( ศิลาโรเซตตา )

 ศิลาโรเซตตา

ศิลาโรเซตตา
             ศิลาโรเซตตา (อังกฤษ: Rosetta) เป็นหินแกรนิตสีเทาเข้มแกมชมพู (เดิมคิดว่ามีส่วนประกอบของหินบะซอลต์) เป็นศิลาจารึก 2 ภาษา คือภาษาอียิปต์ และภาษากรีก โดยใช้อักษร 3 แบบ คือ อักษรภาพอียิปต์ หรืออักษรที่พัฒนามาจากอักษรภาพอียิปต์ก่อนคริตสกาล อักษรเดโมติกของกรีก (ก่อนคริตสกาล 520 ปี) และอักษรกรีก นับเป็นจารึกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์และภาษาอียิปต์ โบราณ เนื่องจากนักโบราณคดีรู้จักภาษากรีก ทำให้สามารถไขความหมายจากอักษรอื่นๆ ซึ่งจารึกไว้โดยมีเนื้อความอย่างเดียวกันได้  ศิลานี้จารึกขึ้นเมื่อวันที่ 18 ของเดือนที่ 2 แห่งฤดูหนาว อันเป็นปีที่ 9 ของรัชสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่ 5 (ตรงกับวันที่ 27 มีนาคม ปีที่ 196 ก่อนคริสตกาล)

โบราณสถาน ( ทิคาล )

ทิคาล (Tikal National Park)

ทิคาล
              ทิคาล  เป็นอุทยานที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศกัวเตมาลา ด้วยชื่อเสียงที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จัก จึงไม่น่าแปลกใจที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างเดินทางมาเยี่ยมเยือนเป็นจำนวน มาก ในเขตอุทยานนั้นค่อนข้างเขียวชอุ่มไปด้วยแมกไม้ ที่มองเห็นเป็นปลายยอดอยู่ลิบๆก็คงจะเป็นทึบซากมหานครโบราณที่ยังคงหลงเหลือ อยู่ของชาวมายานั่นเอง

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อาชีพแอร์โฮสเตส

อาชีพแอร์โฮสเตส



     
โดย: นางสาวรันดา กฤตาคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 11
      หากจะกล่าวว่า อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ แอร์โฮสเตส คือ สุดยอดอาชีพในฝันของสาว ๆ ก็คงไม่ผิดไปจากความจริงนัก เพราะเสน่ห์ที่ดึงดูดให้สาว ๆ รุ่นใหม่ สนใจอาชีพนี้เป็นจำนวนมากคือ การได้มีโอกาสเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก เก็บเกี่ยวประสบการณ์และการเรียนรู้ที่แปลกใหม่และน่าตื่นตาตื่นใจ
หน้าที่และลักษณะการทำงานของแอร์โฮสเตส
         คนส่วนใหญ่มักคิดว่า งานของแอร์โฮสเตส คือ การเสริฟอาหารบนเครื่องบินเพียงอย่างเดียว หน้าที่หลักของอาชีพแอร์โฮสเตส คือ การอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารทั้งในเรื่องความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินระหว่างการเดินทาง และงานบริการเพื่อความสะดวกสบายบนเครื่องบิน
คุณสมบัติที่ดีในการเป็นแอร์โฮสเตส
      • รักงานบริการ
      • บุคลิก อัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส
      • อดทน และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
     
• มีปฏิภาณไหวพริบดี สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ฉับพลัน
      • สามารถว่ายน้ำได้
      • หากสามารถสื่อสารภาษาที่สามได้ (ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ ) จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
การเตรียมความพร้อมก่อนสอบคัดเลือก
ความพร้อมทางด้านกายภาพ    
      • 
ต้องมีความสูงตั้งแต่ 160 เซนติเมตรขึ้นไป น้ำหนักประมาณ 55 กิโลกรัม หรือได้สัดส่วนกันส่วนสูง
      • 
ต้องไม่สายตาสั้น 
      • ไม่มีโรคประจำตัวและไม่เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ
      • ทักษะการว่ายน้ำ ผู้ที่สมัครเป็นแอร์โฮสทุกคนจะต้องสอบว่ายน้ำ ระยะทางประมาณ 50 เมตร
ความพร้อมทางด้านคุณวุฒิ
      • วุฒิการศึกษาตั้งแต่ มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ขึ้นไป (หากจบการศึกษาจากต่างประเทศ ต้องได้รับรองจากกระทรวงก่อน) แต่ถ้าหากจบปริญญาตรีก็จะดี
      • การวัดทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปจะวัดผลจากคะแนนการสอบ TOEFL 550 คะแนน หรือ IELTS 5.5 ขึ้นไป        • การสอบสัมภาษณ์ ในส่วนของการบินไทย จะเป็นการสอบกับคณะกรรมการคัดเลือกทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ประมาณ 6- 7 คน เพื่อวัดและทดสอบ ปฏิภาณไหวพริบสติสัมปชัญญะ และการควบคุมอารมณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
ช่วงเวลาการเปิดรับสมัคร
        ประมาณ เดือน พฤศจิกายน ถึง มีนาคม ของทุกปี
การ Turn Pro
       
เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้ว แอร์โฮสเตสจะยังไม่ได้ขึ้นไฟล์บินทันที ทุกคนต้องไป Turn Pro ประมาณ 3 เดือน โดยจะเป็นการอบรมเกี่ยวกับการให้บริการบนเครื่องบิน เช่น การเสริฟ การจัดอาหาร การผสมเครื่องดื่ม รวมถึงเรียนรู้การสร้างความปลอดภัยบนเครื่อง ไม่ว่าจะเป็น องค์ประกอบต่าง ๆ ของเครื่องบน การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตเบื้องตันในสถานการณ์ต่าง ๆ
การทำงานจริง
        ในเดือนหนึ่ง แอร์โฮสเตสจะขึ้นบินไม่เกิน 12 ไฟล์  สามารถหยุดได้ 8 วัน หากบินไฟล์ภายในประเทศ  การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเตรียมอาหารบนเครื่อง การต้อนรับผู้โดยสารที่ประตูทางเดิน สาธิตการใช้เครื่องช่วยชีวิต บริการอาหาร เครื่องดื่มภายในเครื่อง แต่ถ้าเป็นการบินระหว่างประเทศ จะต้องแจกเอกสารและให้ผู้โดยสารกรอกแบบฟอร์มการเข้าเมืองด้วย
        ฟังอย่างนี้แล้ว ใครที่อยากทำงานเป็นนางฟ้าบนเครื่องบินคงต้องรับเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะอาชีพนี้ถือว่ามีอัตราการแข่งขันสูงทีเดียว  
· เส้นทางการเป็นแอร์โฮสเตส
*** ถ้าอยากเป็นแอร์โฮสเตสจริงๆก็ควรเรียน คณะมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
ศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ เพราะเราจะได้เปรียบพื้นฐานภาษามากกว่าคนอื่น

คณะอื่น แต่ถ้าอยากทำอาชีพนี้จริงๆ จะจบมาจาก
คณะไหนเค้าก็รับคะ อย่างที่สำคัญที่สุดเราควรหมั่นฝึกภาษาให้ได้มากที่สุดนะคะ

· คุณสมบัติของแอร์โฮสเตส

คุณสมบัติตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้เราต้องมีเบสิกก็คือ

1. เราต้องมีอายุระหว่าง 20-26 ปี จบการศึกษาอย่างน้อยปริญญาตรี
2. ส่วนสูง 160 เซนติเมตรขึ้นไป น้ำหนักก็ต้องสัมพันธ์กับส่วนสูงด้วย
3. สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และที่เราต้องเตรียมคือหัดว่ายน้ำ เพราะจะมีทดสอบให้ว่ายไปกลับ 50 เมตร
4. ภาษาอังกฤษต้องมีผลสอบโทอิคไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน
5. การแต่งตัวในวันที่ไปสมัครควรแต่งให้สุภาพที่สุด ถ้าเป็นของสายการบินไทย ควรใส่เสื้อเชิ้ตแขนสั้น
สีขาว กระโปรงสีดำ รองเท้าสีดำหุ้มข้อสูง 2 นิ้วนะค๊ะ และก็อย่าใส่กระโปรงทรงยาว
6. เรื่องทรงผม ห้ามปล่อยผมเด็ดขาด ควรจะรวบผมหรือบางทีอาจจะไปเกล้าผมที่ร้านก็ได้ แต่ไม่ต้องเอา
เวอร์มากนะคะ พอดูสุภาพ หรืออาจจะแสกกลางแล้วรวบคลุมเน็ตก็ได้จร้า
  
ถ้ามีความสามารถภาษาอื่นด้วยบริษัทจะพิจารณาเป็นพิเศษ นอกจากนั้นต้องเตรียมเรื่องบุคลิกภาพด้วย ซึ่งเราต้องอาศัยถามรุ่นพี่ๆ ที่เป็นแอร์ฯได้ว่าต้องทำยังไงบ้าง รุ่นพี่ก็จะช่วยแนะนำว่าต้องแต่งตัวไปยังไง ให้เรียบร้อยดูดีแบบไหนเมื่อผ่านมาตรฐานตามที่บริษัทกำหนด ก็กรอกใบสมัครซึ่งเป็นภาษาอังกฤษล้วนๆ ฉะนั้นจึงต้องเตรียมตัวด้านภาษามาให้ดี ขั้นต่อไปคือการสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการจำนวนหลายคนอาจจะทำให้เกิดความตื่นเต้นได้ ที่สำคัญควจะมีสมาธิและต้องเตรียมควมมพร้อมมาให้เยอะๆนะจ๊ะ

      
· การฝึกอบรมการเป็นแอร์โฮสเตส

สัปดาห์แรกของเราพอเข้ามาปุ๊บต้องเทรนเรื่องเวชศาสตร์การบิน 5 วัน เรียนเรื่องยา การทำคลอด คือสามารถเป็นผู้ช่วยแพทย์ได้ในกรณีที่มีแพทย์อยู่ด้วย การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การให้ยาท้องเสีย ท้องอืด หอบกับหืดต่างกันยังไง ลักษณะโรคต่างกันยังไง เทรนตรงนี้ 5 วัน พอเสร็จตรงนี้ก็จะถูกส่งมาฝึกทางด้านความปลอดภัยของแต่ละชนิดเครื่องบิน อุปกรณ์ฉุกเฉินอยู่ตรงไหน ฝึกดับไฟก็ต้องดับไฟจริงๆ ลงน้ำก็ใช้ชูชีพ ใช้ชูชีพยังไง อยู่ยังไง รักษาความอบอุ่นกันยังไง ในกรณีที่เราต้องดำรงชีวิตอยู่ในทะเล กระปำยา อุปกรณ์ฉุกเฉิน แล้ก็ค่อยฟังคำสั่งว่าเราจะไปด้วยกันยังไง ถึงตอนนี้เราจะต้องทำอย่างนี้ๆ นะ ขั้นตอนการให้บริการผู้โดยสาร ในส่วนของอาหารต้องเรียนแม้กระทั่งประโยชน์สมุนไพร โภชนาการ วิธีการประกอบอาหาร อาหารอย่างนี้ประกอบยังไง เพราะบางคนบางศาสนาผู้โดยสารอาจทานไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือบางคนทานมังสวิรัติ ก็ต้องรู้ บางคนทานแป้งสาลีไม่ได้เพราะเลือดจะออกในกระเพาะ ก็จะมีอาหารอีกประเภทสำหรับคนประเภทนั้น รายละเอียดเยอะมาก ถ้าเป็นเครื่องดื่มอย่างเช่นในไวน์แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร เหมาะกับอาหารประเภทไหน กิริยามารยาทก็ต้องฝึก เช่น ไม่ใช้การชี้นิ้วมือ แต่ใช้การผายมือแทน เพราะสุภาพกว่า ซึ่งตรงนี้คุณครูจะสอนมารยาทละเอียดมากการอบรมใช้เวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เมื่อผ่านอบรมแล้วก็จะได้ขึ้นเครื่องจริงๆ เพื่อทดลองงาน เที่ยวบินแรกของสุตาคือพม่า เธอบอกตื่นเต้นมาก งานของเธอบนเที่ยวบินแรกคือการขึ้นไปช่วยงานบริการพี่ๆ แอร์โฮสเตสถือเป็นการสังเกตการณ์ เรียนรู้งาน ไฟลท์สังเกตการณ์จะมีทั้งหมด 4 ครั้งเมื่อบินเสร็จแล้วต้องกลับมาเข้าคลาสเรียนอีก ครูผู้อบรมจะให้แรกเปลี่ยนประสบการณ์กันว่าไปบินแล้วรู้สึกอย่างไง โดยคุณครูจะคอยเพิ่มเติมความรู้ให้ตลอด
  
· เส้นทางการทำงานแอร์โฮสเตส

หลายคนคงอยากรู้ว่าแอร์โฮสเตสทำงานกันอย่างไง สุตาเล่าให้ฟังว่าพวกเธอต้องมาก่อนไฟลท์ที่จะบิน 2 ชั่วโมงโดยมาพบกันที่สำนักงานกลาง ทุกคนต้องศึกษาว่าวันนี้จะบินไปที่นั่นที่นี่ เวลาต่างกันเท่าไหร่ ต้องรู้ว่ากัปตันครั้งนี้ชื่ออะไร พี่หัวหน้าแอร์คือใคร อินไฟลท์เมเนเจอร์เป็นใคร มีบริการแบบไหน มีเรื่องพิเศษอะไรบ้างมีผู้โดยสารที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษยังไง อาหารที่เสิร์ฟ เครื่องดื่มวันนี้เป็นยังไง นอกจากนั้นทุกคนจะต้องดูวีดีโอเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องนั้นๆ ที่โดยสาร เพื่อทบทวนและมีการทดสอบกันอีกทีในห้องก่อนที่จะออกไปสนามบินด้วยกัน
 “แล้วเราจะต้องมาถึงเครื่องก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง พอไปยืนบนเครื่องคราวนี้จะเป็นเรื่องของการเตรียมการทุกคนที่ได้รับหน้าที่ว่าใครจะต้องประจำอยู่ ณ ตรงไหน ตรวจเช็กอุปกรณ์ความปลอดภัยของตัวเองให้พร้อม เปลี่ยนชุดเตรียมให้บริการ เช็กอุปกรณ์ทุกอย่าง อุปกรณ์ความปลอดภัยครบมั้ย ห้องน้ำเป็นยังไง อาหารเป็นยังไง อาหารพิเศษของผู้โดยสารที่ต้องดูแลพิเศษมาหรือยัง พอพร้อมแล้วพี่หัวหน้าแอร์ฯจะบอกว่าเตรียมรับผู้โดยสารได้เลย ทุกคนก็จะมายืนประจำเพื่อต้อนรับผู้โดยสารตลอดทั้งเที่ยวบิน พวกเธอก็ต้องคอยดูแลผู้โดยสารซึ่งใช้กำลังเยอะทีเดียว ทั้งเข็นรถอาหาร เสิร์ฟอาหาร เครื่องดื่ม ดูแลความเรียบร้อย เรียกว่าต้องเดินตลอดการเดินทาง ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง ฉะนั้นพวกเธอจึงต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงเสมอ
ชั่วโมงบินมันนาน ตัวเราเองก็ต้องพักผ่อนให้เพียงพอก่อน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องความดันอากาศ อากาศที่เปลี่ยนแปลง แล้วเราต้องเดินทางอยู่บ่อยๆ เวลานอนก็ไม่เหมือนคนที่ทำงานประจำ ฉะนั้นเราต้องดูแลตัวเองดีๆ ถ้าไม่ไหวไม่สบาย หรือรู้ตัวว่าตัวเองเป็นหวัด ถ้าเป็นหวัดหูอื้อ ก็จะไม่ไป แต่ถ้ายังขืนขึ้นไปนี่อาการหูบล็อกมันอันตราย จะไม่ไปเลยนะคะ เพราะว่านอกจากไม่ดีกับตัวเองยังไปทำให้เพื่อนร่วมงานเหนื่อยขึ้นอีก ถามว่าเหนื่อยมั้ย ชินแล้ว พอกลับมาเราก็พักผ่อนเต็มที่ ทางบริษัทเขาก็จัดวันหยุดให้เรา ในการที่จะทำการบินแต่ละครั้งนี่บริษัทคำนวณไว้แล้ว เขาจะมีอัตราค่าความเหนื่อยให้ว่าเราจะต้องพักผ่อนเท่านี้เพื่อความปลอดภัย เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันถูกควบคุมด้วยตัวของมันเองอยู่แล้ว เราก็ทำหน้าที่ควบคุมตัวเราเองอีกที เพราะบางทีเราไปในประเทศที่ร้อนจัดแล้วไปประเทศที่เย็น เราก็ต้องเตรียมตัว

· คำในของแอร์โฮสเตส

สำหรับคนที่อยากเป็นแอร์โฮสเตส ขอให้ตอบตัวเองว่าเรารักงานบริการจริงๆ หรือเปล่า เมื่อตอบได้แล้วให้หาข้อมูลให้มากที่สุด หย่าหยุดฝัน ถ้าเรารู้ว่าวันหนึ่งฝันเราเป็นจริงชีวิตมันก็คุ้มค่า อย่าหยุด อย่าท้อ อย่าคิดว่าเป็นแอร์ฯ ต้องสวยหรือเปล่า ต้องเก่งหรือมั้ย ต้องเรียนเมืองนอกหรือเปล่า อย่าไปคิดอย่างนั้น ไม่ใช่เลย ถ้าคุณมีคุณสมบัติกำหนด บริษัทก็พร้อมจะเลือก ซึ่งเขาเลือกคนดี เลือกคนที่มีความตั้งใจ
  
· สิทธิพิเศษของคนเป็นแอร์โฮสเตส
มีรายได้รวมสูงกว่าคนทำงานอาชีพอื่นๆ เข้ามาทำงานใหม่ๆ ก็ได้รายได้ประมาณ 40,000-60,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจำนวนรายได้จะขึ้นอยู่กับตารางบินว่าบินระยะใกล้ไกลแค่ไหน ถ้าบินไกล และค้างคืนหลายวันก็ยิ่งได้มาก· เดินทางไปไหนมาไหนแบบฟรี หรือได้สิทธิ์ในการซื้อตั๋วเครื่องราคาถูกมาก· สมาชิกในครอบครัว เช่น พ่อแม่ ภรรยา หรือสามี และลูก สามารถใช้สิทธิ์เดินทางซื้อตั๋วราคาถูกหรือไปแบบฟรีได้ ถ้าไม่สบาย หรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างการบิน สายการบินจะมีสวัสดิการประกันสุขภาพ สามารถเบิกรักษาพยาบาลได้ทุกแห่งทั่วโลกที่สายการบินมีจุดลง


อ้างอิง
ลิงน้อยแสนกล. “อาชีพแอร์โฮสเตส”.แนะนำอาชีพ แอร์โฮสเตส - My.iD. 9 มกราคม 2554<http://writer.dek-d.com/meaw2u/writer/viewlongc.php?id=576267&chapter=2> 15 กรกฎาคม 2554


อาชีพเพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์

อาชีพ "เพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์"
โดย นางสาวสุภาพร ศรีภูชน ชั้น ม.5/1  เลขที่ 17
     อาชีพ "เพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์" (PA) ผู้ช่วยส่วนบุคคล หรือเลขาฯผู้บริหาร กำลังฮิตฮอตเป็นอย่างมากในอเมริกา เพราะสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์อันยุ่ง เหยิงอีนุงตุงนังของนักธุรกิจ และเซเลบริตี้คนดัง ที่เวลาเป็นเงินเป็นทองได้อย่างคุ้มค่า โดยหน้าที่หลักของ PA ก็คือ ช่วยบริหารจัดการเวลาและตารางชีวิตในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอน บางครอบครัวยังจ้าง PA คอยเป็นธุระในเรื่องการดูแลบ้านช่อง คอย เทกแคร์คนรวย คนสูงวัย คนเจ็บไข้ ได้ป่วย และทุพพลภาพ ดูจากเทรนด์ ทั่วโลกแล้ว เชื่อมั่นว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าความนิยมในอาชีพอิสระ รายได้ ดี อย่างเช่นเพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์ น่าจะระบาดมาถึงเมืองไทย อย่างแน่นอนก่อนที่เทรนด์อาชีพใหม่ร้อนๆจะมาถึงเมืองไทย อยากพาไปรู้จักกับสาวไทยที่ไปเติบโตในอเมริกา และประสบความสำเร็จจากการทำงานอาชีพผู้ช่วยส่วนบุคคล เพื่อจุดประกายให้คนรุ่นใหม่นำไปต่อยอด เป็นไอเดีย เธอคนนี้มีชื่อว่า เอมี่-ชนกนาถ เสถียรสุต ปัจจุบันอายุ 30 ปี เป็นหลานของมหาเศรษฐีระดับตำนานของเมืองไทย "คุณเสถียร เสถียรสุต" เรียนจบปริญญาตรีด้านเทเลคอมมิวนิเคชั่น แมเนจเมนต์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จากมหาวิทยาลัยเจมส์ เมดิสัน รัฐเวอร์จิเนีย เคยทำงานกับกลุ่มบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา GANNETT เจ้าของหนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ โดย เธอทำงานฝ่ายข่าวและโฆษณาอยู่ 5 ปีเต็ม จนกระทั่งรู้สึกอิ่มตัว จึงแยกออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง ใช้ชื่อ ว่า Stierasuta ซึ่งเป็นนามสกุลแท้ๆ ที่ภาคภูมิใจ เปิดให้บริการด้านเพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์ คอยดูแลเทกแคร์นักธุรกิจและเซเลบริตี้คนดัง โดยลูกค้าคนแรกของเธอ คือ เจ้าชาย แบนดาร์แห่งซาอุดีอาระเบีย  จุดเริ่มต้นของการก้าวสู่วงการนี้ "เอมี่" เล่าว่า เมื่อหลายปีก่อน คุณแม่ได้แนะนำให้เข้าไปทำงานกับ "มร.เรย์" ที่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ทำให้ได้มีโอกาสแสดงฝีมือเรื่องการบริหารจัดการ โชคดีเมื่อ "เจ้าชายแบนเดอร์" เสด็จมา อเมริกา จึงได้รับความไว้วางใจจาก "มร.เรย์" ให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยส่วนบุคคลคอยดูแล เทกแคร์เจ้าชายซา-อุดีอาระเบียอย่างใกล้ชิด คือต้องทำทุกอย่าง ตั้งแต่วินาทีแรกที่ตื่น จนถึงเข้านอน โดยจะดูแลอาหารเช้า, จัดรถรับส่ง, เลือกเสื้อผ้า, ดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัย, จัดหมายประชุม และบริหารตารางเวลาทุกอย่าง ใครอยากติดต่อกับบอสก็ต้องนัดหมายผ่านเธอเท่านั้น ดูเผินๆอาจมีหน้าที่คล้ายเลขาฯ แต่จริงๆแล้ว "เอมี่" บอกว่า หน้าที่ความรับผิดชอบของ PA ครอบคลุมกว้างขวางกว่านั้นมาก เพราะต้องคอยหาข้อมูลทุกอย่างเตรียมไว้เป็นฐานความรู้ เพื่อที่ว่าเวลาลูกค้าอยากได้อะไร หรืออยากรู้อะไรเป็นพิเศษ จะได้ตอบคำถามถูกต้อง   ด้วยการบริการที่น่าประทับใจ ทำให้มีกลุ่มลูกค้าระดับวีไอพีมาใช้เซอร์วิสของ "เอมี่" อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นลักษณะบอกกันปากต่อปาก มีอาทิ "มาดามเจน คาฟริทซ์"ภรรยามหาเศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ของวอชิงตัน, "มาดาม เอธีล เคนเนดี้" ภรรยาของโรเบิร์ต เคนเนดี้ และลูกค้าคนล่าสุดยังรวมถึง "มาดามทันย่าซินเดอร์" หลังบ้านของ "มร.แดน ซินเดอร์" เจ้าของทีมอเมริกันฟุตบอลชื่อดัง Washington Redskins จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับนักธุรกิจและมหาเศรษฐีระดับโลก ทำให้ "เอมี่" ค้นพบว่า การเป็น PA ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว..."การทำงานกับเซเล็บแต่ละคนก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไป เช่น "มาดามเจน" ชอบให้จัดการดูแลทุกอย่าง ทั้งเรื่องการเดินทาง และเตรียมนัดหมายประชุม ทำให้ต้องเตรียม ข้อมูลเยอะมาก ส่วน "มาดามเอธีล" ตอนนี้แก่แล้ว อายุ 81 ปี ทำงานด้านมูลนิธิ จึงต้องเข้าไปช่วยงาน กุศล รวมถึงงานด้านอีเวนต์ต่างๆด้วย ขณะที่ "มาดามทันย่า" อายุเพียง 47 ปี มีลูกเล็ก เลยต้องทำหน้าที่ดูแลเด็กๆ"  สำหรับกุญแจสำคัญของคนทำอาชีพนี้ให้ ประสบความสำเร็จ "เอมี่" บอกว่า ต้องมองโลก แง่บวก มีใจรักบริการ และห้ามเซย์โนกับลูกค้าเด็ดขาด ที่สำคัญไม่ควรเลือกปฏิบัติ ต้องทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ทุกงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรือ งานใหญ่ระดับชาติ!!
           จั่วหัวเรื่องแบบนี้  หลายคนจะสงสัยต่อว่า  เป็นข้อเท็จจริงแค่ไหน  อยู่ในแวดวงเลขานุการมานานพอสมควรพึ่งค้นพบเอกสารฉบับนี้ และที่สำคัญ พระราชบัญญัตินี้ก็มีมาตั้งแต่ปี 2521 เกือบ 30 ปีผ่านมาแล้ว เอาเป็นว่า รู้วันนี้ก็ดีกว่า ไม่รู้อะไรเลย  และต้องยอมรับความจริงว่า มีอะไรอีกมากมายที่ยังไม่รู้ ขึ้นอยู่ว่า จะเราเสาะแสวงหา ค้นคว้า ใส่ใจ ใฝ่รู้แค่ไหน
        อาชีพนี้ กำหนดไว้ใน  พระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว 2521 ซึ่งได้กำหนดห้ามคนต่างชาติทำงานบางประเภท หรือทำได้โดยมีเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 39 อาชีพ*  เหตุผลสำคัญก็คือ เพื่อสงวนอาชีพบางประเภทสำหรับคนไทยเท่านั้น  ลักษณะดังกล่าวจึงถือเป็นการปิดตลาดแรงงานอย่างชัดเจน อีกทั้งเป็นการเลือกปฏิบัติแก่คนชาติอื่นอีกด้วย 
      งานกรรมการ (ยกเว้นงานบนเรือประมง), งานกสิกรรม เลี้ยงสัตว์, งานก่ออิฐ ช่างไม้ งานแกะสลัก, งานขับขี่ยานยนต์ (ยกเว้นเครื่องบิน), งานขายของหน้าร้าน, งานขายทอดตลาด, งานควบคุมให้บริการบัญชี, งานเจียระไนพลอย, งานตัดผม, งานทอผ้าด้วยมือ, งานทำกระดาษสา ทำเครื่องเขิน, งานทำเครื่องดนตรีไทย, งานทำเครื่องถมเครื่องทอง, งานทำตุ๊กตาไทย, งานทำที่นอน, งานทำบาตร, งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ, งานทำพระพุทธรูป, งานทำมีด, งานทำร่มกระดาษหรือผ้า, งานทำหมวก, งานตัวแทนนายหน้าในธุรกิจระหว่างประเทศ, วิศวกรรมโยธา, สถาปัตยกรรม, งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย, งานปั้นเครื่องดินเผา, งานมวนบุหรี่ด้วยมือ, งานมัคคุเทศก์ หรือจัดนำเที่ยว, งานเร่ขายสินค้า, งานเรียงตัวพิมพ์อักษรด้วยมือ, งานสาวไหม, งานเสมียนพนักงานเลขานุการ, งานบริการกฎหมาย]
        อาชีพเลขานุการ คล้ายกับอาชีพ มัคคุเทศก์ ที่สงวนให้เฉพาะคนไทยทำ  อีกเช่นกัน ที่เราเห็น มัคคุเทศก์ต่างชาติแสดงบทบาทมัคคุเทศก์อาชีพเป็นที่โจ่งครึ่มโดยที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเราผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องนี้มองข้าม  แกล้งไม่เห็นหรือหลุดรอดสายตาไปได้  ทั้งที่ หากพวกเราเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศต้องปฏิบัติตามกติกานี้อย่างเคร่งครัด   แล้วประสาอะไร เมื่อมาเทียบกับออฟฟิศที่ หลบอยู่ในสำนักงาน ยิ่งตำแหน่ง เลขานุการก็เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้มีลักษณะคล้ายกับงานสำนักงานอื่นที่จะต้องเผชิญหน้ากับลูกค้าโดยตรง เช่น  งานประชาสัมพันธ์  ซึ่งเลขานุการ วัน ๆ ขลุกกับงานของเจ้านาย  รับประกันได้ว่า  หากมีต่างชาติเข้ามาทำงานในอาชีพนี้  ก็ปฏิเสธได้ยากว่า จะมีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองคนใดจะสอดส่องดูแลได้ทั่วถึงเช่นเดียวกันกับอาชีพ มัคคุเทศก์                      ย้อนกลับมาดูบทบาทของพวกเรา จะช่วยกอบกู้และกันอาชีพนี้ไว้สำหรับคนไทยได้ยาวนานแค่ไหน อย่าลืมว่า  มีหลายอาชีพได้เริ่มผ่อนปรนสำหรับต่างชาติ ด้วยกรอบของการเจรจาระดับประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน  การไหลของแรงงานต่างชาติที่มีคุณภาพซึ่งตรงกับความต้องการของสถานประกอบที่ต้องการยกระดับองค์กร  จนท้ายที่สุดรัฐบาลอาจจะไม่สามารถฝ่ากระแสความต้องการของสถานประกอบการหรือองค์กรต่าง ๆ ได้ และยกเลิกพระราชบัญญัตินี้ไปในที่สุด
      ดังนั้น สิ่งที่พวกเราอาชีพ เลขานุการ”  จะต้องตั้งรับและเตรียมตัวให้พร้อมคงจะหนีไม่พ้นการค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีก้าวหน้า ทันสมัย นำปรับใช้ในการทำงานสำนักงานยุคปัจจุบัน  ยอมรับปรับและเปลี่ยนแปลงในองค์กร  การสื่อสารได้อย่างหลากหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ยังเป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารยุคนี้  เพิ่มประสบการณ์ที่หลากหลายในการทำงาน  สร้างเครือข่ายอาชีพ เลขานุการ”  หรือสมาคมอาชีพเลขานุการฯ หรือชื่ออื่นที่เกี่ยวข้อง  ต้องมีบทบาทที่ชัดเจนขึ้น และกรอบการทำงานที่กว้างขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะบางคนบางกลุ่มเท่านั้น 
     ยังรวมไปถึงสถาบันการศึกษาที่จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผลิตกำลังคนเตรียมให้พร้อมและมีคุณภาพให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล หรือการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคคลที่ทำอาชีพนี้อยู่แล้ว ได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นทางด้านเทคโนโลยี  อบรมทักษะภาษา เป็นต้นเริ่มต้น ตั้งแต่วันนี้ แล้วแต่ว่า เราจะอยู่ในบทบาทหรือหน้าที่ใด   ดีกว่า....ไม่ได้คิดไม่ได้ทำอะไรเลย
บรรณานุกรม
       www.prsociety.net . "อาชีพ "เพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์ ."เพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์.
22  กรกฎาคม 2554.

อาชีพผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์และแคสติ้ง

อาชีพผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์และแคสติ้ง

โดย นางสาววนิดา ทิพกันยา ชั้น ม.5/1  เลขที่ 12

                 ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดงจะมีหน้าที่จัดการและดูแลความเรียบร้อยทั่วไปของฉากที่กำลังจะถ่ายทำ  นอกจากนั้น  ผู้ช่วยผู้กำกับยังมีหน้าที่คอยช่วยเหลือหรือทำในสิ่งที่ผู้กำกับสั่งเหมือนกับเป็นเลขาคนสนิทของผู้กำกับ  และต้องทำงานสัมพันธ์กับผู้จัดการกองถ่ายด้วย
                 ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องรู้แผนการทำงานถ่ายทำประจำวันอย่างละเอียด  และตรวจตราว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผน  ดาราที่จะเข้าฉากจะต้องพร้อม  ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องดูว่าตัวแสดงคนใดจะเข้าฉากเมื่อไหร่  ตัวแสดงคนไหนไปพักผ่อนได้  สิ่งที่ผู้ช่วยผู้กำกับกลัวที่สุดก็คือตัวแสดงที่ผู้กำกับการแสดงต้องการไม่อยู่ในที่นั้น  เพราะบางทีผู้ช่วยผู้กำกับเห็นว่าตัวแสดงคนเห็นไม่มีบทในตอนนี้  ก็อนุญาตให้ไปเดินเล่นหรือพักผ่อนได้  แต่ถ้าผู้กำกับการแสดงต้องกรตัวแสดงนั้นขึ้นมา  ผู้ช่วยผู้กำกับต้องเป็นผู้รับผิดชอบ  โดยทั่วไปผู้ช่วยผู้กำกับจะบอกให้ตัวแสดงอยู่ในที่ๆสามารถติดต่อได้ ผู้ช่วยผู้กำกับที่จะเป็นที่รักของตัวแสดงได้  จะต้องเป็นผู้กำหนอเวลาได้ถูกต้องว่าแต่ละคนควรจะมาเข้าฉากเวลาไหน
                ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องคอยเตือนว่าฉากต่อไปจะเป็นฉากอะไรและตัวแสดงใดจะต้องเข้ากล้อง  พร้อมทั้งบอกรายละเอียดเกี่ยวกับเสื้อผ้า  และทรงผมที่ใช้ในฉากนั้นๆด้วย  ทั้งนี้เพื่อให้ตัวแสดงเหล่านั้นเตรียมตัวให้พร้อมในด้านการแสดงและทั่วๆไปนอกจาดนั้น  ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องรับผิดชอบการเดินทางทั้งไปและกลับของตัวแสดงด้วย
                ผู้ช่วยผู้กับกำจะเริ่มงานสองถึงสี่สัปดาห์ก่อนที่จะเปิดกล้อง  ก่อนอื่นก็ต้องศึกษาบทภาพยนตร์  โดยเน้นที่ตัวแสดงประกอบที่ไม่มีความสำคัญมาก  หรือตัวประกอบที่เดินผ่านฉากเฉยๆโดยไม่มีบทพูดเลย  ตัวแสดงพวกนี้อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงของผู้ช่วยผู้กำกับต่อจากนั้น  เขาจะต้องทำความคุ้นเคยกับฉากและสถานที่ถ่ายทำทั้งหมด ผู้ช่วยผู้กำกับจะเป็นผู้ติดต่อหาตัวประกอบฉากจากหน่วยงานที่เรียกว่าเซ็นทรัล  คาสติ้ง (Central Casting) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่มีตัวประกอบอยู่ในสังกัดมากมาย  และโรงถ่ายทุกโรงสามารถจะว่าจ้างไปเข้าฉากได้  ในบ้านเรา  ก็มีโรงเรียนสอนศิลปะการแสดง  ซึ่งในปัจจุบันทำหน้าที่คล้ายเซ็นทรัล คาสติ้ง  คือมีตัวประกอบทุกประเภทให้กองถ่ายภาพยนตร์และโทรทัศน์ว่าจ้างไปเข้าฉากได้  นับว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการแสดงมาก เพราะตัวประกอบประเภทนี้ได้รับการฝึกฝนการแสดงขั้นพื้นฐานมาแล้ว  จึงง่ายแก่การควบคุมและกำกับ
                ในระหว่างการถ่ายทำ  ทุกอย่างต้องเป็นระเบียบแลทุกคนจะต้องปฏิบัติตาม  แม้ว่าจะเป็นดาราใหญ่หรืใครก็ตามเมื่อถึงเวลาถ่ายทำจะต้องอยู่ในระเบียบ  หน้าของผู้ช่วยผู้กำกับอีกประการคือต้องคอยตะโกนให้ทุกคนเงียบเมื่อจะต้องมีการถ่ายทำ  อาจจะต้องตะโกนว่า ทุกคนเงียบวันละหลายสิบครั้ง
                ในฉากใหญ่ๆที่มีตัวละครหลายตัว ผู้ช่วยผู้กำกับจะเป็นคนคอยช่วยบอกว่าตัวประกอบแต่ละตัวต้องทำอย่างไร  ถ้าฉากที่ถ่ายทำมีตัวประกอบมากๆ ผู้ช่วยผู้กำกับจะต้องมีคนช่วยคอยช่วยกำกับตัวประกอบนี้ด้วย เช่นในฉากห้างสรรพสินค้า มีตัวแสดงตัวประกอบฉากมากมาย  ผู้ช่วยผู้กำกับก็จะบอกว่าคนนั้นต้องทำท่าลองลิปสติก  คนขายต้องคอบแนะนำ  อีกคนเดินไปทางซ้าย อีกคนเดินไปทางตู้ใส่ของเด็ก  อีกห้าคนยืนมุงดูของลดราคา  เช่นนี้เป็นต้น  ในกรณีที่เป็นฉากภายนอก  ผู้ช่วยผู้กำกับก็จะต้องควบคุมตัวประกอบและรถให้เคลื่อนไหวไปตามความเหมาะสมของบทภาพยนตร์  ยิ่งฉากใหญ่มากและมีผู้ประกอบฉากมากงานของผู้ช่วยผู้กำกับก็ยิ่งหนักและต้องการผู้ช่วยมากขึ้น


บริการงานแคสติ้งนักแสดง
            
             บริการงานแคสติ้งนักแสดง ตัวประกอบ พริตตี้ เอ็มซี นักร้อง แดนเซอร์ สมบูรณ์แบบครบวงจร มากด้วยประสบการณ์กว่า 5 ปี บริการงานแคสติ้งมาแล้วมากมายทั้งหนัง ละคร มิวสิค ออกาไนเซอร์ และโปรดักชั่นเฮาส์ต่างๆ ในราคาประหยัด
            สถานที่นัดแคสติ้งสะดวกสบายใจกลางลาดพร้าว เดินทางสะดวก มีทีมงานพร้อมพลั่งทั้งต้อนรับ จัดคิว ถ่ายภาพนิ่ง วีดีโอ ระดับสตูดิโอไฮเอนท์ พร้อมบริการตัดต่อเสร็จสรรพเพื่อจัดส่งงานให้ลูกค้าได้พิจารณา เรามีแอคติ้งโค้ชและผู้ช่วยผู้กำกับไว้คอยบริการด้านแคสติ้งเทรนนิ่งให้กับคนที่มาแคสติ้งด้วย
ลูกค้าสามารถส่งทีมงานมาแคสติ้งเองหรือมอบหมายหน้าที่ให้ทางทีมงานของเราจัดแคสติ้งและเรียกคนแคสให้เลยก็ได้ โดยทางลูกค้าไม่ต้องเสียเวลาเพียงรอรับงานที่ตัดต่อได้เลย
              พร้อมทั้งบริการงานด้านโมเดลลิ่งครบวงจร ทั้งนักแสดง ตัวประกอบ นางแบบ นายแบบ พริตตี้ เอ็มซี แดนเซอร์ และอื่นๆอีกมากมาย
 
        ACTITEM
- สตูดิโอแคสติ้งขนาด 4 X 15 M 1 ห้อง
- สตูดิโอสำหรับรองรับคิวคนแคสจุ 20 คน 1 ห้อง
- ห้องรับแขกและลูกค้า VIP พร้อมมุมกาแฟและสวนหย่อมในตัว
- มุมออฟฟิศสไตล์ลอฟท์ และบริการอินเตอร์เน็ท
- เครื่องเสียง ทีวี เครื่องเล่น VCD , DVD
- กล้องวีดีโอระดับ Hi end ชุดกล้องโปรและชุดไฟ มอนิเตอร์ครบพร้อมแคสติ้ง
- FREE INTERNET wifi สำหรับ notebook และ PC
- มุมพักผ่อนส่วนตัวเต็มพื้นที่ ไม่ต้องใช้ร่วม
- ห้องพักสำหรับรอคิวแคสหรือรอเพื่อนกว้างขว้าง สะดวกสบาย ไม่อึดอัด
- ห้องน้ำในตัว แยกเป็นส่วนสัด
- ที่จอดรถกว้างขวาง สะดวก ปลอดภัย
- ห้องแต่งตัวพร้อมอุปกรณ์เสื้อผ้า แต่งหน้า ทำผม เพื่อเตรียมตัวก่อนแคส 2 ห้อง


ผู้กำกับภาพยนตร์

 

            ผู้กำกับภาพยนตร์ คือผู้ที่มีหน้าที่กำกับในขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่สร้างจินตนาการจากบทหนัง แล้วถ่ายทอดความคิดทางด้านศิลปะออกมาตามแบบที่ตนเองต้องการ และเป็นคนสั่งฝ่ายอื่นๆในกองถ่าย อย่างเช่น ฝ่ายผู้กำกับภาพ ผู้กำกับการแสดง ฝ่ายเทคนิค นักแสดง ออกมาอยู่ในองค์ประกอบทางศิลป์ที่ตนเองต้องการบนแผ่นฟิล์มหรือในระบบดิจิตอล
            อย่างไรก็ดี ผู้กำกับภาพยนตร์อาจจะควบคุมทุกอย่างตามที่ตนคิดไว้ไม่ได้เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นภาพยนตร์ที่ฉายในโรง เพราะผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ จะเป็นคนกำหนดงบประมาณที่จะให้ผู้กำกับใช้จ่ายได้ หรือสั่งตัดต่อหนังในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเข้าโรงฉายหากหนังมีความยาวเกินไป หรือเพื่อดึงการจัดเรตหนังให้ต่ำลงมา หรือบางฉากอาจจะมีการเพิ่มโฆษณาเข้าไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่ไม่แปลกหากผู้กำกับจะมีปัญหาให้คุยกับผู้อำนวยการสร้างเสมอๆ

ความรับผิดชอบ

ผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่ควบคุมงานเกือบทุกอย่างในกองถ่าย ที่เกี่ยวข้องกับภาพและเสียง การดำเนินเรื่อง มุมกล้อง บทสนทนา สเปเชียลเอฟเฟกต์ ที่จะสื่อให้ผู้ชมได้รับรู้ในทุกๆแง่มุมที่เขาต้องการจะเผยแพร่ออกมา ผู้กำกับบางคนมีอำนาจในการจ้างคนที่จะต้องร่วมงานด้วยบ่อยๆ อย่างเช่น ฝ่ายกำกับภาพ ซาวเอ็นจิเนียร์ ฝ่ายจัดแสง ฝ่ายจัดหาโลเคชั่น ฝ่ายคอสตูม ฝ่ายสเปเชียลเอฟเฟกต์ โดยผู้อำนวยการสร้างจะไม่ลงมายุ่งในเรื่องพวกนี้ด้วยมากนัก หากผู้กำกับภาพยนตร์ยังใช้ทุนสร้างอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ

วิธีการกำกับ

วิธีการกำกับของผู้กำกับแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันเลย ซึ่งตรงจุดนี้เป็นเสน่ห์ของภาพยนตร์ เพราะผลงานที่ได้จะมีความหลากหลาย เนื่องจากศิลปะการกำกับหนังไม่มีทฤษฏีที่ตายตัว แบ่งประเภทออกได้คร่าวๆดังนี้
บรรณานุกรม
จริยา  กาญจนากระจ่าง. "ภาพยนตร์, "ผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์.12 มิถุนายน2548.
<http://www.thaishortfilm.com/board/viewtopic.php?t=9998>15กรกฎาคม2554.                
 ชัช วรพล. "แคสติ้ง. "แคสติ้งการแสดง, "แคสติ้ง.25ตุลาคม 2549.
<http://www.adintrend.com/show_message.php?id=39505>15กรกฎาคม2554.