อาชีพ "เพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์"
โดย นางสาวสุภาพร ศรีภูชน ชั้น ม.5/1 เลขที่ 17
อาชีพ "เพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์" (PA) ผู้ช่วยส่วนบุคคล หรือเลขาฯผู้บริหาร กำลังฮิตฮอตเป็นอย่างมากในอเมริกา เพราะสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์อันยุ่ง เหยิงอีนุงตุงนังของนักธุรกิจ และเซเลบริตี้คนดัง ที่เวลาเป็นเงินเป็นทองได้อย่างคุ้มค่า โดยหน้าที่หลักของ PA ก็คือ ช่วยบริหารจัดการเวลาและตารางชีวิตในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอน บางครอบครัวยังจ้าง PA คอยเป็นธุระในเรื่องการดูแลบ้านช่อง คอย เทกแคร์คนรวย คนสูงวัย คนเจ็บไข้ ได้ป่วย และทุพพลภาพ ดูจากเทรนด์ ทั่วโลกแล้ว เชื่อมั่นว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าความนิยมในอาชีพอิสระ รายได้ ดี อย่างเช่นเพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์ น่าจะระบาดมาถึงเมืองไทย อย่างแน่นอนก่อนที่เทรนด์อาชีพใหม่ร้อนๆจะมาถึงเมืองไทย อยากพาไปรู้จักกับสาวไทยที่ไปเติบโตในอเมริกา และประสบความสำเร็จจากการทำงานอาชีพผู้ช่วยส่วนบุคคล เพื่อจุดประกายให้คนรุ่นใหม่นำไปต่อยอด เป็นไอเดีย เธอคนนี้มีชื่อว่า เอมี่-ชนกนาถ เสถียรสุต ปัจจุบันอายุ 30 ปี เป็นหลานของมหาเศรษฐีระดับตำนานของเมืองไทย "คุณเสถียร เสถียรสุต " เรียนจบปริญญาตรีด้านเทเลคอมมิวนิเคชั่น แมเนจเมนต์ แอดเวอร์ไทซิ่ง จากมหาวิทยาลัยเจมส์ เมดิสัน รัฐเวอร์จิเนีย เคยทำงานกับกลุ่มบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของอเมริกา GANNETT เจ้าของหนังสือพิมพ์ยูเอสเอ ทูเดย์ โดย เธอทำงานฝ่ายข่าวและโฆษณาอยู่ 5 ปีเต็ม จนกระทั่งรู้สึกอิ่มตัว จึงแยกออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง ใช้ชื่อ ว่า Stierasuta ซึ่งเป็นนามสกุลแท้ๆ ที่ภาคภูมิใจ เปิดให้บริการด้านเพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์ คอยดูแลเทกแคร์นักธุรกิจและเซเลบริตี้คนดัง โดยลูกค้าคนแรกของเธอ คือ เจ้าชาย แบนดาร์แห่งซาอุดีอาระเบีย จุดเริ่มต้นของการก้าวสู่วงการนี้ "เอมี่" เล่าว่า เมื่อหลายปีก่อน คุณแม่ได้แนะนำให้เข้าไปทำงานกับ "มร.เรย์" ที่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ทำให้ได้มีโอกาสแสดงฝีมือเรื่องการบริหารจัดการ โชคดีเมื่อ "เจ้าชายแบนเดอร์" เสด็จมา อเมริกา จึงได้รับความไว้วางใจจาก "มร.เรย์" ให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยส่วนบุคคลคอยดูแล เทกแคร์เจ้าชายซา-อุดีอาระเบียอย่างใกล้ชิด คือต้องทำทุกอย่าง ตั้งแต่วินาทีแรกที่ตื่น จนถึงเข้านอน โดยจะดูแลอาหารเช้า, จัดรถรับส่ง, เลือกเสื้อผ้า, ดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัย, จัดหมายประชุม และบริหารตารางเวลาทุกอย่าง ใครอยากติดต่อกับบอสก็ต้องนัดหมายผ่านเธอเท่านั้น ดูเผินๆอาจมีหน้าที่คล้ายเลขาฯ แต่จริงๆแล้ว "เอมี่" บอกว่า หน้าที่ความรับผิดชอบของ PA ครอบคลุมกว้างขวางกว่านั้นมาก เพราะต้องคอยหาข้อมูลทุกอย่างเตรียมไว้เป็นฐานความรู้ เพื่อที่ว่าเวลาลูกค้าอยากได้อะไร หรืออยากรู้อะไรเป็นพิเศษ จะได้ตอบคำถามถูกต้อง ด้วยการบริการที่น่าประทับใจ ทำให้มีกลุ่มลูกค้าระดับวีไอพีมาใช้เซอร์วิสของ "เอมี่" อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นลักษณะบอกกันปากต่อปาก มีอาทิ "มาดามเจน คาฟริทซ์"ภรรยามหาเศรษฐีอสังหาริมทรัพย์ของวอชิงตัน, "มาดาม เอธีล เคนเนดี้" ภรรยาของโรเบิร์ต เคนเนดี้ และลูกค้าคนล่าสุดยังรวมถึง "มาดามทันย่าซินเดอร์" หลังบ้านของ "มร.แดน ซินเดอร์" เจ้าของทีมอเมริกันฟุตบอลชื่อดัง Washington Redskins จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานใกล้ชิดกับนักธุรกิจและมหาเศรษฐีระดับโลก ทำให้ "เอมี่" ค้นพบว่า การเป็น PA ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว..."การทำงานกับเซเล็บแต่ละคนก็มีรายละเอียดแตกต่างกันไป เช่น "มาดามเจน" ชอบให้จัดการดูแลทุกอย่าง ทั้งเรื่องการเดินทาง และเตรียมนัดหมายประชุม ทำให้ต้องเตรียม ข้อมูลเยอะมาก ส่วน "มาดามเอธีล" ตอนนี้แก่แล้ว อายุ 81 ปี ทำงานด้านมูลนิธิ จึงต้องเข้าไปช่วยงาน กุศล รวมถึงงานด้านอีเวนต์ต่างๆด้วย ขณะที่ "มาดามทันย่า" อายุเพียง 47 ปี มีลูกเล็ก เลยต้องทำหน้าที่ดูแลเด็กๆ" สำหรับกุญแจสำคัญของคนทำอาชีพนี้ให้ ประสบความสำเร็จ "เอมี่" บอกว่า ต้องมองโลก แง่บวก มีใจรักบริการ และห้ามเซย์โนกับลูกค้าเด็ดขาด ที่สำคัญไม่ควรเลือกปฏิบัติ ต้องทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ทุกงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กหรือ งานใหญ่ระดับชาติ!!
จั่วหัวเรื่องแบบนี้ หลายคนจะสงสัยต่อว่า เป็นข้อเท็จจริงแค่ไหน อยู่ในแวดวงเลขานุการมานานพอสมควรพึ่งค้นพบเอกสารฉบับนี้ และที่สำคัญ พระราชบัญญัตินี้ก็มีมาตั้งแต่ปี 2521 เกือบ 30 ปีผ่านมาแล้ว เอาเป็นว่า รู้วันนี้ก็ดีกว่า ไม่รู้อะไรเลย และต้องยอมรับความจริงว่า มีอะไรอีกมากมายที่ยังไม่รู้ ขึ้นอยู่ว่า จะเราเสาะแสวงหา ค้นคว้า ใส่ใจ ใฝ่รู้แค่ไหน
อาชีพนี้ กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการทำงานคนต่างด้าว 2521 ซึ่งได้กำหนดห้ามคนต่างชาติทำงานบางประเภท หรือทำได้โดยมีเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 39 อาชีพ* เหตุผลสำคัญก็คือ เพื่อสงวนอาชีพบางประเภทสำหรับคนไทยเท่านั้น ลักษณะดังกล่าวจึงถือเป็นการปิดตลาดแรงงานอย่างชัดเจน อีกทั้งเป็นการเลือกปฏิบัติแก่คนชาติอื่นอีกด้วย
งานกรรมการ (ยกเว้นงานบนเรือประมง), งานกสิกรรม เลี้ยงสัตว์, งานก่ออิฐ ช่างไม้ งานแกะสลัก, งานขับขี่ยานยนต์ (ยกเว้นเครื่องบิน), งานขายของหน้าร้าน, งานขายทอดตลาด, งานควบคุมให้บริการบัญชี, งานเจียระไนพลอย, งานตัดผม, งานทอผ้าด้วยมือ, งานทำกระดาษสา ทำเครื่องเขิน, งานทำเครื่องดนตรีไทย, งานทำเครื่องถมเครื่องทอง, งานทำตุ๊กตาไทย, งานทำที่นอน, งานทำบาตร, งานทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ, งานทำพระพุทธรูป, งานทำมีด, งานทำร่มกระดาษหรือผ้า, งานทำหมวก, งานตัวแทนนายหน้าในธุรกิจระหว่างประเทศ, วิศวกรรมโยธา, สถาปัตยกรรม, งานประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย, งานปั้นเครื่องดินเผา, งานมวนบุหรี่ด้วยมือ, งานมัคคุเทศก์ หรือจัดนำเที่ยว, งานเร่ขายสินค้า, งานเรียงตัวพิมพ์อักษรด้วยมือ, งานสาวไหม, งานเสมียนพนักงานเลขานุการ, งานบริการกฎหมาย]
อาชีพเลขานุการ คล้ายกับอาชีพ มัคคุเทศก์ ที่สงวนให้เฉพาะคนไทยทำ อีกเช่นกัน ที่เราเห็น มัคคุเทศก์ต่างชาติแสดงบทบาทมัคคุเทศก์อาชีพเป็นที่โจ่งครึ่มโดยที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเราผู้รับผิดชอบดูแลเรื่องนี้มองข้าม แกล้งไม่เห็นหรือหลุดรอดสายตาไปได้ ทั้งที่ หากพวกเราเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศต้องปฏิบัติตามกติกานี้อย่างเคร่งครัด แล้วประสาอะไร เมื่อมาเทียบกับออฟฟิศที่ หลบอยู่ในสำนักงาน ยิ่งตำแหน่ง “เลขานุการ” ก็เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้มีลักษณะคล้ายกับงานสำนักงานอื่นที่จะต้องเผชิญหน้ากับลูกค้าโดยตรง เช่น งานประชาสัมพันธ์ ซึ่งเลขานุการ วัน ๆ ขลุกกับงานของเจ้านาย รับประกันได้ว่า หากมีต่างชาติเข้ามาทำงานในอาชีพนี้ ก็ปฏิเสธได้ยากว่า จะมีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองคนใดจะสอดส่องดูแลได้ทั่วถึงเช่นเดียวกันกับอาชีพ มัคคุเทศก์ ย้อนกลับมาดูบทบาทของพวกเรา จะช่วยกอบกู้และกันอาชีพนี้ไว้สำหรับคนไทยได้ยาวนานแค่ไหน อย่าลืมว่า มีหลายอาชีพได้เริ่มผ่อนปรนสำหรับต่างชาติ ด้วยกรอบของการเจรจาระดับประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน การไหลของแรงงานต่างชาติที่มีคุณภาพซึ่งตรงกับความต้องการของสถานประกอบที่ต้องการยกระดับองค์กร จนท้ายที่สุดรัฐบาลอาจจะไม่สามารถฝ่ากระแสความต้องการของสถานประกอบการหรือองค์กรต่าง ๆ ได้ และยกเลิกพระราชบัญญัตินี้ไปในที่สุด
ดังนั้น สิ่งที่พวกเราอาชีพ “เลขานุการ” จะต้องตั้งรับและเตรียมตัวให้พร้อมคงจะหนีไม่พ้นการค้นคว้าหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีก้าวหน้า ทันสมัย นำปรับใช้ในการทำงานสำนักงานยุคปัจจุบัน ยอมรับปรับและเปลี่ยนแปลงในองค์กร การสื่อสารได้อย่างหลากหลายภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ยังเป็นภาษาหลักในการติดต่อสื่อสารยุคนี้ เพิ่มประสบการณ์ที่หลากหลายในการทำงาน สร้างเครือข่ายอาชีพ “เลขานุการ” หรือสมาคมอาชีพเลขานุการฯ หรือชื่ออื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องมีบทบาทที่ชัดเจนขึ้น และกรอบการทำงานที่กว้างขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะบางคนบางกลุ่มเท่านั้น
ยังรวมไปถึงสถาบันการศึกษาที่จะต้องปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผลิตกำลังคนเตรียมให้พร้อมและมีคุณภาพให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล หรือการส่งเสริมสนับสนุนให้บุคคลที่ทำอาชีพนี้อยู่แล้ว ได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นทางด้านเทคโนโลยี อบรมทักษะภาษา เป็นต้นเริ่มต้น ตั้งแต่วันนี้ แล้วแต่ว่า เราจะอยู่ในบทบาทหรือหน้าที่ใด ดีกว่า....ไม่ได้คิดไม่ได้ทำอะไรเลย
บรรณานุกรม
www.prsociety.net . "อาชีพ "เพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์ ."เพอร์ซันแนล แอสซิสแทนต์.
22 กรกฎาคม 2554.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น